วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สมุนไพรไทยแก้โรคผิวหนัง

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย
http://www.dtam.moph.go.th/indigenous/ratchapol14/antiringworm.htm


จากเวบอี-ล้านนา

http://www.sri.cmu.ac.th/elanna/elanna47/public_html/med/med2_4_1.html


อีกที่

ข่า สมุนไพรไทย แก้กลากเกลื้อน

ข่า เป็นสมุนไพรที่คนไทยนิยมนำมาใช้ประกอบอาหารประเภทดับกลิ่นคาว แต่งกลิ่น อาหารประเภทสากลหน่อยก็ต้องเป็นต้มยำกุ้งรู้จักกันไปทั่วโลก เพราะความหอม และความอร่อยของรสเครื่องเทศสมุนไพรจาก ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และพริก สมุนไพรที่กล่าวมานี้ล้วนมีสรรพคุณเป็นที่ยอมรับว่าฆ่าเซลล์มะเร็งได้ จึงทำให้อาหารไทยอย่างต้มยำกุ้งเป็นที่ชื่นชอบกันทั่วโลก แต่ถ้าพื้นบ้านหน่อยต้องแวะไปแถวภาคเหนือหรืออีสาน ใช้ใส่ลาบเป็ด ลาบปลา ดับกลิ่นคาว หรือต้มไก่ข่าอ่อน และข่าอ่อนจิ้มน้ำพริก เป็นต้น

ข่า เป็นพืชพื้นบ้าน มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ้านเราเอง ในตำรายาไทยใช้ข่ารักษากลาก เกลื้อน และเชื้อรา ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับเลือดเน่าเสียในหญิงหลังคลอดบุตร สรรพคุณ เหง้าสดแก้กลาก เกลื้อน เหง้าแก่แก้ปวดท้อง จุกเสียด แน่น ขับลม แก้บวม แก้พิษ แก้บิด แก้ตกเลือด แก้ลมป่วง แก้กลาก เกลื้อน ใบฆ่าพยาธิ กลาก เกลื้อน ต้มอาบแก้ปวดเมื่อย ดอกแก้กลาก เกลื้อน ผลช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดท้อง แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้บิด รากขับเลือดลม แก้เหน็บชา แก้เสมหะ แก้โลหิต น้ำมันหอมระเหยขับลม แก้โรคกระเพาะ ลดไขมัน แก้หลอดลมอักเสบ

ส่วน ประกอบทางเคมีของข่าจะมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย สารเมททิล ซินนาเมต ยูจีนอล ซึ่งมีการออกฤทธิ์ต่อระบบต่างๆ ได้แก่ ระบบกล้ามเนื้อ/ข้อต่อ บรรเทาอาการปวดบวมตามข้อ ระบบหายใจ บรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ ระบบย่อยอาหาร บรรเทาอาการปวดท้อง ท้องร่วง ฆ่าเชื้อบิด ช่วยย่อยอาหาร ผิวหนัง รักษาโรคผิวหนังกลาก เกลื้อน แก้ลมพิษ ช่องปาก บรรเทาอาการปวดฟัน

สารสกัดจากข่านำไปใช้รักษาแผลสด แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้โรคหลอดลมอักเสบ เป็นยาธาตุและยาขับลม รักษาอาการปวดฟัน

นอก จากนี้ ข่ายังออกฤทธิ์ต้านฮีสตามีน ต้านการอักเสบ มีฤทธิ์ช่วยขับน้ำดีออก มีฤทธิ์ในการบีบตัวของลำไส้เล็กและขับลม ฆ่าแบคทีเรียในลำไส้ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการจุกเสียด และมีนักวิจัยได้นำเอาภูมิปัญญาความรู้ในการรักษาโรคผิวหนังไปวิจัย เพื่อนำไปใช้รักษาโรคผิวหนังในสัตว์แทนการใช้เพนนิซิลิน ซึ่งพบว่าได้ผลดีมาก ซึ่งจะมีการนำไปพัฒนาในรูปแบบยาครีมเพื่อใช้ในวงการปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยง ต่อไป

วิธี ใช้แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม ให้เอาข่าแก่สดหรือแห้งต้มน้ำให้เดือด ใช้ดื่มเพื่อระบายลม โดยเฉพาะคนธาตุลมที่มักจุกเสียดแน่นท้องบ่อยๆ และผู้สูงวัยที่มักจะมีโรคลมมาเยือนในช่วงบ่าย ให้ดื่มเป็นประจำจะช่วยแก้ไขอาการได้ หรือใช้ข่าแก่ครั้งละ 1 กำมือ (60-70 หัว หรือหนัก 15 กรัม) ทุบให้แตกต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้หัวสดครั้งละ 5 หัว โขลกให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งรับประทาน หรือใช้หัวข่าแก่กวนให้ละเอียดตำกับน้ำปูนใส 2 แก้ว ใช้ดื่มแก้อาการ

ใช้ เป็นยาภายนอกรักษาโรคผิวหนังกลาก เกลื้อน แก้ลมพิษ หรือบรรเทาอาการฟกช้ำ บวม ข้อเท้าแพลง ข้อเท้าอักเสบ เคล็ดขัดยอก ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย ให้ใช้ข่าแก่ตำให้ละเอียดใช้พอกบริเวณที่มีอาการ หรือตำข่าให้ละเอียดแช่กับเหล้าขาวหรือน้ำส้มสายชูทิ้งไว้ 1 วัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยามาใช้ การรักษากลาก เกลื้อนนั้น ให้ทำความสะอาดบริเวณที่เป็นก่อน แล้วใช้ไม้ไผ่บางๆ ขูดเบาๆ ตรงบริเวณที่เป็นจนผิวหนังแดงเล็กน้อย แล้วค่อยทายาที่แช่ด้วยเหล้าทิ้งไว้ 1 คืน วันละ 3-4 ครั้งจนกว่าจะหาย

ใช้ในผู้ป่วยโรคเอดส์ที่เป็นเชื้อราในช่องปาก สาเหตุเชื้อรา Oral hairy leukoplakia ลักษณะ อาการของโรคที่พบ คือเกิดฝ้าขาวบริเวณเพดานปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม ขูดออกได้ ทำให้ปวดแสบปวดร้อนเวลากินอาหารรสจัด เชื้อราลุกลามไปที่หลอดคอทำให้กลืนลำบาก บริเวณขอบลิ้นมีฝ้า ขูดไม่มีอาการเจ็บ โดยนำข่าหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หรือทุบให้ละเอียดนำไปดองกับแอลกอฮอล์ 15 วัน แล้วกรองเอาแต่น้ำนำไปใช้บ้วนปาก กลั้วปากและคอเช้า-เย็น ก่อนอาหาร

ใน ตำรับยาแพทย์แผนไทยนั้น ข่าเป็นพืชยาที่มีรสร้อน จึงนำไปปรุงยาหรือเข้าตำรับยาที่สำคัญหลายตัว เช่น พิกัดตรีวาตะผล คือจำนวนผลแก้ลม 3 อย่าง ได้แก่ ลูกสะค้าน รากพริกไทย เหง้าข่า มีสรรพคุณแก้กองลม แก้เสมหะ แก้แน่นในทรวงอก แก้เลือด บำรุงไฟธาตุ

พิกัดตรีกาฬพิษ เป็นจำนวนตัวยาแก้พิษตามกาล 3 อย่างคือ รากกะเพราแดง หัวกระชาย เหง้าข่า มีสรรพคุณบำรุงธาตุ บำรุงกำหนัด ขับลม แก้ไข้สันนิบาต แก้เลือดเสีย

ยาไฟประลัยกัลป์ เป็นยาสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ใช้ขับน้ำคาวปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ ตัวยาประกอบด้วย พริกไทยล่อน ขิง ดีปลี กระเทียม หนักสิ่งละ 4 ส่วน ขมิ้นอ้อย กะทือ ข่า ไพล เปลือกมะรุม หนักสิ่งละ 5 ส่วน รากเจตมูลเพลิงแดง สารส้ม แก่นแสมทะเล การบูร ผิวมะกรูด หนักสิ่งละ 6 ส่วน นำทั้งหมดบดเป็นผงละเอียดปั้นเป็นยาลูกกลอน หรือบรรจุแคปซูลรับประทาน วันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร หรือละลายกับน้ำกระสายยาครั้งละ 1 ช้อนชา ละลายน้ำสุกหรือน้ำสุรา

ส่วนการใช้กำจัดแมลงศัตรูพืชนั้น ใช้กันมานานแล้ว สูตรยากำจัดแมลงที่มีข่าเป็นส่วนประกอบ มีสรรพคุณกำจัดเพลี้ย ไรแดง เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย คือ ยาฉุน 1 กิโลกรัม เมล็ดสะเดา 1 กิโลกรัม ข่า 1 กิโลกรัม ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม น้ำตาล 1 กิโลกรัม น้ำ 10 ลิตร จุลินทรีย์ 1 ลิตร นำส่วนผสมทั้งหมดหมักทิ้งไว้ 7 วันแล้วกรองเอาตัวยาผสมกับน้ำใช้ฉีดพ่น 7 วัน/ครั้ง หรือบ้านไหนมีมดมาเดินขบวนก่อกวนสร้างความรำคาญ ก็เอาเหง้าข่าแก่ทุบให้ละเอียดแล้วนำไปวางบริเวณที่มดเดิน ช่วยขับไล่มดได้.

จากไทยโพส

เฝ้าคอย

เฝ้าคอย
looking